กระผมนายนิพนธ์ บุญญามณี สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ใคร่ขอขอบพระคุณพี่น้องประชาชนและพี่น้องชาวจังหวัดสงขลาทุกท่าน ที่ได้ให้ความกรุณาสนับสนุนกระผมและไว้วางใจพรรคประชาธิปัตย์ในการเข้ามาทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ กระผมได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชนด้วยความสำนึกของความเป็นผู้แทนราษฎรด้วยดีตลอดมา การสนับสนุนของท่านทั้งหลายเป็นสิ่งที่มีค่าสำคัญยิ่ง เพราะเป็นเสมือนหนึ่งพันธสัญญาที่กระผมได้ทำงานรับใช้พี่น้องประชาชน
วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
อควาเรียม
คณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎรและคณะอนุกรรมาธิการติดตามการบริหาร งบประมาณภาคใต้ เยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลสาบสงขลา
วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2553
วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วัวชนแดนใต้อัดงบ 25 ล้านลั่นต้องขึ้นไทยลีกเท่านั้น
สส.นิพนธ์ บุญญามณี โดดลงทำทีมบอลสงขลาเต็มตัว นั่งแท่นประธานสโมสร นายแกน นวพล บุญญามณี คุมงานหลักนั่งแทน ผอ.ทีม ดึงสปอนเซอร์สนับสนุนเพียบขอพาทีมวัวชนแดนใต้ผงาดในเวทีไทยพรีเมียร์ลีกทีมแรกจากแดนสะตอ พร้อมปั้นฝันทำทีมเยาวชนรองรับอนาคตการทำทีม
วันนี้ (5 ก.พ.54) ทัพนักสู้วัวชนแดนใต้ สงขลา เอฟซี คึกคักเป็นพิเศษ โดยในช่วงเช้า ณ สนามอันทรงคุณค่า ติณสูลานนท์ มีการเปิดฝึกซ้อมคลีนิคฟุตบอลเยาวชนจังหวัดสงขลา เพื่อสร้างนักเ้ตะเยาวชนสู่การเป็นนักฟุตบอลอาชีพ โดยมีโค้ชโย่ง วรวุธ ศรีมาฆะ หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมวัวชนสงขลา และทีมงานผู้ช่วย ทัพนักเตะร่วมเป็นเทรนเนอร์ฝึกซ้อมให้กับเยาวชน
จากนั้นเข้าสู่บรรยากาศการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของสโมสรฟุตบอลสงขลา เอฟซี ณ โรงแรมพาวิเลียน สงขลา โดยมี สส.นิพนธ์ บุญญามณี ,สส.ประพร เอกอุรุ ,นายกแกน นวพล บุญญามณี ,ผู้จัดการทีม ธัชนนท์ คชชาสุวรรณ ,ทีมงานผู้บริหาร ,นักเตะทีมวัวชนแดนใต้ ผู้ใ้ห้การสนับสนุนทีม นำโดยผู้แทนผู้บริหารกลุ่มบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด คุณศิลปิน บูรณะศิลปิน สปอนเซอร์หลักคาดหน้าอก และผู้สนับสนุนรายอื่นๆ อีกมากมาย พร้อมด้วยบรรดาแฟนคลับร่วมงานจำนวนมาก และมีอิสระพงษ์ ผลมั่ง นักข่าวคนดังของสยากีฬาร่วมเป็นพิธีกร
โดยทีมวัวชนแดนใต้ สงขลา เอฟซี มีการเปิดตัวทัพนักเตะที่ดีที่สุดของทีม ที่มีการผสมผสานระหว่างนักเตะท้องถิ่น และนักเตะต่างชาติ ซึ่งมีทั้งจากบราซิล ญี่ปุน แคมารูนฯ ซึ่ง สส.พิพนธ์ บุญญามณี บอกว่าในปีนี้ตั้งบทำทีมไว้ที่ 25 ล้านบาท ซึ่งมาทั้งจากผู้สนับสนุน จากผู้บริหาร และการสนับสนุนจากบรรดาแฟนคลับที่ขยายวงกว้างขึ้นควบคู่กับกระแสบอลลีกฟีเวอร์
สำหรับเป้าหมายของทีมวัวชนสงขลา ในฤดูกาล 2554 มีการเตรียมทัพนักเตะไว้กว่า 30 คน พร้อมแข่งทุกรายการโดยเฉพาะในรายการดิวิชั่น 1 ต้องติด 1 ใน 3 เท่านั้น ส่วนในบอลถ้วย ทั้งไทยคม เอฟเอ คัพ และโตโยต้าลีกคัพ จะทำให้ดีที่สุด มีเป้าหมายอยู่ที่มี 1 ถ้วยติดมือให้ได้ (รายละเอียดเพิ่มเติม ติดตามได้ที่เว็บไซต์กิมหยง)
ที่มา..กิมหยง.คอม /ข่าวสารบ้านเรา
วันนี้ (5 ก.พ.54) ทัพนักสู้วัวชนแดนใต้ สงขลา เอฟซี คึกคักเป็นพิเศษ โดยในช่วงเช้า ณ สนามอันทรงคุณค่า ติณสูลานนท์ มีการเปิดฝึกซ้อมคลีนิคฟุตบอลเยาวชนจังหวัดสงขลา เพื่อสร้างนักเ้ตะเยาวชนสู่การเป็นนักฟุตบอลอาชีพ โดยมีโค้ชโย่ง วรวุธ ศรีมาฆะ หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมวัวชนสงขลา และทีมงานผู้ช่วย ทัพนักเตะร่วมเป็นเทรนเนอร์ฝึกซ้อมให้กับเยาวชน
จากนั้นเข้าสู่บรรยากาศการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของสโมสรฟุตบอลสงขลา เอฟซี ณ โรงแรมพาวิเลียน สงขลา โดยมี สส.นิพนธ์ บุญญามณี ,สส.ประพร เอกอุรุ ,นายกแกน นวพล บุญญามณี ,ผู้จัดการทีม ธัชนนท์ คชชาสุวรรณ ,ทีมงานผู้บริหาร ,นักเตะทีมวัวชนแดนใต้ ผู้ใ้ห้การสนับสนุนทีม นำโดยผู้แทนผู้บริหารกลุ่มบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด คุณศิลปิน บูรณะศิลปิน สปอนเซอร์หลักคาดหน้าอก และผู้สนับสนุนรายอื่นๆ อีกมากมาย พร้อมด้วยบรรดาแฟนคลับร่วมงานจำนวนมาก และมีอิสระพงษ์ ผลมั่ง นักข่าวคนดังของสยากีฬาร่วมเป็นพิธีกร
โดยทีมวัวชนแดนใต้ สงขลา เอฟซี มีการเปิดตัวทัพนักเตะที่ดีที่สุดของทีม ที่มีการผสมผสานระหว่างนักเตะท้องถิ่น และนักเตะต่างชาติ ซึ่งมีทั้งจากบราซิล ญี่ปุน แคมารูนฯ ซึ่ง สส.พิพนธ์ บุญญามณี บอกว่าในปีนี้ตั้งบทำทีมไว้ที่ 25 ล้านบาท ซึ่งมาทั้งจากผู้สนับสนุน จากผู้บริหาร และการสนับสนุนจากบรรดาแฟนคลับที่ขยายวงกว้างขึ้นควบคู่กับกระแสบอลลีกฟีเวอร์
สำหรับเป้าหมายของทีมวัวชนสงขลา ในฤดูกาล 2554 มีการเตรียมทัพนักเตะไว้กว่า 30 คน พร้อมแข่งทุกรายการโดยเฉพาะในรายการดิวิชั่น 1 ต้องติด 1 ใน 3 เท่านั้น ส่วนในบอลถ้วย ทั้งไทยคม เอฟเอ คัพ และโตโยต้าลีกคัพ จะทำให้ดีที่สุด มีเป้าหมายอยู่ที่มี 1 ถ้วยติดมือให้ได้ (รายละเอียดเพิ่มเติม ติดตามได้ที่เว็บไซต์กิมหยง)
ที่มา..กิมหยง.คอม /ข่าวสารบ้านเรา
วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
7 ปีไฟใต้..วัดใจ"ปกครองพิเศษ" ปชป.งัดโมเดลใหม่สู้ "นครปัตตานี"
เปิดโมเดล ปชป.
นิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ และประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามงบประมาณแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร มองว่า ประเด็นที่กลุ่มผู้สนับสนุนแนวคิดเรื่อง “นครปัตตานี” ยังไม่ได้ตอบก็คือ หากจัดให้มีการเลือกตั้ง “ผู้ว่าการนคร” แล้ว จะเอาอำนาจมาจากที่ไหน เพราะเป็นเสมือนการสร้างอำนาจใหม่ขึ้นมา ขณะที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ นายก อบจ.ก็มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งจังหวัดอยู่ในปัจจุบัน
ฉะนั้นทางออกของเรื่องนี้จึงควรลดอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นอำนาจการปกครองส่วนภูมิภาคลง แล้วนำไปเพิ่มให้ นายก อบจ.แทน ก็จะแก้ปัญหาได้
“ประเด็นที่มีการเรียกร้องกันคือ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมไม่มีอำนาจเพียงพอใช่หรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็เพิ่มอำนาจให้ท้องถิ่นไป ปัญหาก็จบ โดยไม่ต้องกระทบกับโครงสร้างที่มีอยู่เดิมด้วย เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้ง”
นิพนธ์ อธิบายว่า ที่ผ่านมานโยบายของรัฐบาลชุดก่อนๆ ไปขยายให้การปกครองส่วนภูมิภาคโตขึ้น เช่น นโยบายผู้ว่าฯซีอีโอ ซึ่งสวนทางกับการกระจายอำนาจ ฉะนั้นแนวทางที่ถูกต้องคือถ่ายโอนอำนาจเพิ่มเข้าไปให้ท้องถิ่น จะได้ไม่ต้องไปยุบเลิกโครงสร้างที่มีอยู่เดิมบางส่วน ก็จะไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง เพราะหากเสนอให้เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ว่าการนคร จะนำไปสู่ความขัดแย้งแน่นอน
“ถามว่าถ้าเลือกตั้งผู้ว่าการนครรัฐปัตตานี โดยรวม จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เป็นนครรัฐ แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีอยู่เดิม 3 คนจะให้ไปอยู่ที่ไหน นายก อบจ.อีก 3 คน นายกเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนครอีก ถ้าต้องยุบเลิกตำแหน่งพวกนี้ จะสร้างความขัดแย้งตามมาอีกมาก”
เมืองพิเศษชายแดน
นิพนธ์ อธิบายต่อว่า โมเดลของพรรคประชาธิปัตย์คือ การเพิ่มอำนาจให้ อบจ.และเมืองต่างๆ ตามแนวชายแดนทั่วประเทศ ให้สามารถบริหารจัดการและดูแลตัวเองได้อย่างแท้จริง ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น แต่รวมถึงเมืองชายแดนอื่นๆ ที่มีความพร้อมด้วย
“พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ชูธงให้เกิดเทศบาล อบจ.และ อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล) โดยได้รับการพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ กระทั่งตอนนี้คือรูปแบบเมืองพิเศษ เช่น แม่สอด (อ.แม่สอด จ.ตาก) ภูเก็ต และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะเมืองเหล่านี้มีปัญหาด้านความมั่นคง แต่ในขณะเดียวกันก็มีมูลค่าทางเศรษฐกิจขนาดมหึมาจากการค้าตามแนวชายแดน จึงต้องมีการบริหารจัดการรูปแบบพิเศษเข้ามาดูแล เพราะลำพังเพียงเทศบาล หรือ อบจ.ตามกรอบอำนาจเดิมไม่สามารถบริหารจัดการได้”
“จากแนวทางนี้ เมืองชายแดนทั้งหมดจะมีรูปแบบการปกครองลักษณะพิเศษ ขณะเดียวกันก็ไม่ก่อปัญหาความขัดแย้ง เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดก็ยังมีอยู่ แต่ลดอำนาจให้เหลือเพียงกำกับดูแลเป็นเรื่องๆ ไป และเป็นผู้ทำหน้าที่ประสานกับส่วนกลางเท่านั้น”
“สำหรับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รูปแบบจะเป็นอย่างไรก็มาระดมความคิดความเห็นกัน อาจจะเป็นเมืองชายแดนด้านวัฒนธรรมก็ได้ แล้วก็กำหนดขอบเขตอำนาจและความสัมพันธ์ระหว่างเมืองพิเศษกับส่วนกลาง ไม่ใช่อยู่ๆ ไปเสนอนครรัฐขึ้นมา โดยไม่รู้ว่ามีอำนาจหน้าที่อย่างไร และจะมีความสัมพันธ์กับราชการส่วนกลางอย่างไร”
นิพนธ์ ย้ำว่า การจะสร้างรูปแบบการปกครองพิเศษขึ้นมา ต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่าภารกิจของเมืองพิเศษคืออะไร อำนาจหน้าที่มีอะไรบ้าง และที่สำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างเมืองพิเศษกับราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจะเป็นอย่างไร ซึ่งส่วนตัวเห็นว่า “นครปัตตานี” ยังไม่ได้ตอบคำถามเหล่านี้เลย เช่น ถ้ามีปัญหาด้านการต่างประเทศ จะให้ใครเป็นผู้เจรจา งานด้านความมั่นคง การศึกษา จะดูแลเองทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นต้น
“เวลาพูดเรื่องกระจายอำนาจต้องพูดให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลางด้วย ไม่ใช่แค่คิดแต่ชื่อเป็นหัวขึ้นมา ส่วนรายละเอียดข้างล่างไม่มี ถ้าเป็นอย่างนั้นจะทำให้เกิดความไม่มั่นใจ และเกิดแรงต้าน”
“ยกตัวอย่างเวลาสร้างบ้านใหม่ ต้องบอกให้ได้ก่อนว่าบ้านจะมีกี่ชั้น กี่ห้อง และใช้งบเท่าไหร่ ไม่ใช่สร้างไป ทำไป คิดไป สุดท้ายอาจได้แต่เสา และที่สำคัญที่สุดคือต้องถามคนที่จะอยู่ในบ้านด้วยว่าอยากให้บ้านเป็นอย่างไร เพราะถ้าสร้างแล้วไม่มีคนอยู่ก็จะกลายเป็นบ้านร้าง”
ส่วนแนวทางการรวม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็น “นครรัฐ” หรือ “มหานคร” นั้น ส.ส.ประชาธิปัตย์ผู้นี้ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วย เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ควรมีขนาดใหญ่มาก มิฉะนั้นจะอุ้ยอ้าย เทอะทะ สวนทางกับหลักการกระจายอำนาจ คิดว่าใช้รูปแบบ 1 จังหวัด 1 องค์กรดีกว่า เพราะจะมีความคล่องตัวในการบริหาร และมีโครงสร้าง อบจ.รองรับอยู่แล้ว
“สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องถามประชาชนเสียก่อนว่าอยากอยู่ในนครรัฐ หรือ อบจ.ที่ได้รับการถ่ายโอนอำนาจเข้ามาอย่างเพียงพอ อาจทำประชาพิจารณ์อย่างเป็นกิจจลักษณะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดประเด็นขัดแย้งใหม่ๆ ตามมา” ส.ส.ประชาิธิปัตย์ กล่าว
นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายทุกฝ่ายในสังคมไทย ในวาระ 7 ปีของปัญหาภาคใต้ที่เปลวไฟยังคงคุโชน!
---------------------------------------------------------------------------
ที่มา . โต๊ะข่าวภาคใต้ /http://south.isranews.org/
นิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ และประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามงบประมาณแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร มองว่า ประเด็นที่กลุ่มผู้สนับสนุนแนวคิดเรื่อง “นครปัตตานี” ยังไม่ได้ตอบก็คือ หากจัดให้มีการเลือกตั้ง “ผู้ว่าการนคร” แล้ว จะเอาอำนาจมาจากที่ไหน เพราะเป็นเสมือนการสร้างอำนาจใหม่ขึ้นมา ขณะที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ นายก อบจ.ก็มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งจังหวัดอยู่ในปัจจุบัน
ฉะนั้นทางออกของเรื่องนี้จึงควรลดอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นอำนาจการปกครองส่วนภูมิภาคลง แล้วนำไปเพิ่มให้ นายก อบจ.แทน ก็จะแก้ปัญหาได้
“ประเด็นที่มีการเรียกร้องกันคือ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมไม่มีอำนาจเพียงพอใช่หรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็เพิ่มอำนาจให้ท้องถิ่นไป ปัญหาก็จบ โดยไม่ต้องกระทบกับโครงสร้างที่มีอยู่เดิมด้วย เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้ง”
นิพนธ์ อธิบายว่า ที่ผ่านมานโยบายของรัฐบาลชุดก่อนๆ ไปขยายให้การปกครองส่วนภูมิภาคโตขึ้น เช่น นโยบายผู้ว่าฯซีอีโอ ซึ่งสวนทางกับการกระจายอำนาจ ฉะนั้นแนวทางที่ถูกต้องคือถ่ายโอนอำนาจเพิ่มเข้าไปให้ท้องถิ่น จะได้ไม่ต้องไปยุบเลิกโครงสร้างที่มีอยู่เดิมบางส่วน ก็จะไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง เพราะหากเสนอให้เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ว่าการนคร จะนำไปสู่ความขัดแย้งแน่นอน
“ถามว่าถ้าเลือกตั้งผู้ว่าการนครรัฐปัตตานี โดยรวม จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เป็นนครรัฐ แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีอยู่เดิม 3 คนจะให้ไปอยู่ที่ไหน นายก อบจ.อีก 3 คน นายกเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนครอีก ถ้าต้องยุบเลิกตำแหน่งพวกนี้ จะสร้างความขัดแย้งตามมาอีกมาก”
เมืองพิเศษชายแดน
นิพนธ์ อธิบายต่อว่า โมเดลของพรรคประชาธิปัตย์คือ การเพิ่มอำนาจให้ อบจ.และเมืองต่างๆ ตามแนวชายแดนทั่วประเทศ ให้สามารถบริหารจัดการและดูแลตัวเองได้อย่างแท้จริง ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น แต่รวมถึงเมืองชายแดนอื่นๆ ที่มีความพร้อมด้วย
“พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ชูธงให้เกิดเทศบาล อบจ.และ อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล) โดยได้รับการพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ กระทั่งตอนนี้คือรูปแบบเมืองพิเศษ เช่น แม่สอด (อ.แม่สอด จ.ตาก) ภูเก็ต และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะเมืองเหล่านี้มีปัญหาด้านความมั่นคง แต่ในขณะเดียวกันก็มีมูลค่าทางเศรษฐกิจขนาดมหึมาจากการค้าตามแนวชายแดน จึงต้องมีการบริหารจัดการรูปแบบพิเศษเข้ามาดูแล เพราะลำพังเพียงเทศบาล หรือ อบจ.ตามกรอบอำนาจเดิมไม่สามารถบริหารจัดการได้”
“จากแนวทางนี้ เมืองชายแดนทั้งหมดจะมีรูปแบบการปกครองลักษณะพิเศษ ขณะเดียวกันก็ไม่ก่อปัญหาความขัดแย้ง เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดก็ยังมีอยู่ แต่ลดอำนาจให้เหลือเพียงกำกับดูแลเป็นเรื่องๆ ไป และเป็นผู้ทำหน้าที่ประสานกับส่วนกลางเท่านั้น”
“สำหรับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รูปแบบจะเป็นอย่างไรก็มาระดมความคิดความเห็นกัน อาจจะเป็นเมืองชายแดนด้านวัฒนธรรมก็ได้ แล้วก็กำหนดขอบเขตอำนาจและความสัมพันธ์ระหว่างเมืองพิเศษกับส่วนกลาง ไม่ใช่อยู่ๆ ไปเสนอนครรัฐขึ้นมา โดยไม่รู้ว่ามีอำนาจหน้าที่อย่างไร และจะมีความสัมพันธ์กับราชการส่วนกลางอย่างไร”
นิพนธ์ ย้ำว่า การจะสร้างรูปแบบการปกครองพิเศษขึ้นมา ต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่าภารกิจของเมืองพิเศษคืออะไร อำนาจหน้าที่มีอะไรบ้าง และที่สำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างเมืองพิเศษกับราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคจะเป็นอย่างไร ซึ่งส่วนตัวเห็นว่า “นครปัตตานี” ยังไม่ได้ตอบคำถามเหล่านี้เลย เช่น ถ้ามีปัญหาด้านการต่างประเทศ จะให้ใครเป็นผู้เจรจา งานด้านความมั่นคง การศึกษา จะดูแลเองทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นต้น
“เวลาพูดเรื่องกระจายอำนาจต้องพูดให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลางด้วย ไม่ใช่แค่คิดแต่ชื่อเป็นหัวขึ้นมา ส่วนรายละเอียดข้างล่างไม่มี ถ้าเป็นอย่างนั้นจะทำให้เกิดความไม่มั่นใจ และเกิดแรงต้าน”
“ยกตัวอย่างเวลาสร้างบ้านใหม่ ต้องบอกให้ได้ก่อนว่าบ้านจะมีกี่ชั้น กี่ห้อง และใช้งบเท่าไหร่ ไม่ใช่สร้างไป ทำไป คิดไป สุดท้ายอาจได้แต่เสา และที่สำคัญที่สุดคือต้องถามคนที่จะอยู่ในบ้านด้วยว่าอยากให้บ้านเป็นอย่างไร เพราะถ้าสร้างแล้วไม่มีคนอยู่ก็จะกลายเป็นบ้านร้าง”
ส่วนแนวทางการรวม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็น “นครรัฐ” หรือ “มหานคร” นั้น ส.ส.ประชาธิปัตย์ผู้นี้ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วย เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ควรมีขนาดใหญ่มาก มิฉะนั้นจะอุ้ยอ้าย เทอะทะ สวนทางกับหลักการกระจายอำนาจ คิดว่าใช้รูปแบบ 1 จังหวัด 1 องค์กรดีกว่า เพราะจะมีความคล่องตัวในการบริหาร และมีโครงสร้าง อบจ.รองรับอยู่แล้ว
“สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องถามประชาชนเสียก่อนว่าอยากอยู่ในนครรัฐ หรือ อบจ.ที่ได้รับการถ่ายโอนอำนาจเข้ามาอย่างเพียงพอ อาจทำประชาพิจารณ์อย่างเป็นกิจจลักษณะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดประเด็นขัดแย้งใหม่ๆ ตามมา” ส.ส.ประชาิธิปัตย์ กล่าว
นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายทุกฝ่ายในสังคมไทย ในวาระ 7 ปีของปัญหาภาคใต้ที่เปลวไฟยังคงคุโชน!
---------------------------------------------------------------------------
ที่มา . โต๊ะข่าวภาคใต้ /http://south.isranews.org/
วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)